สร้างรายได้มหาศาล จากเปลือกทุเรียน เปลี่ยนโฉมใหม่ เป็นพลาสติกชีวภาพ


พลาสติกชีวภาพ (Bioplastic) หรือพลาสติกชีวภาพย่อยสลายได้ (Biodegradable plastic) หมายถึง พลาสติกที่ผลิตขึ้นจากวัสดุธรรมชาติ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพืชได้นานาชนิด เช่น เปลือกทุเรียน เปลือกข้าวโพด เปลือกมันสำปะหลัง กากชานอ้อย ฯลฯ 

ถูกนำมาแปรรูปเป็นเครื่องใช้ไม้สอยมากมายหลายชนิด เช่น จานอาหาร แก้วน้ำ ตู้ โต๊ะ กล่อง เป็นต้น แนวคิดการนำเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาแปรรูปเป็นพลาติกชีวภาพ ช่วยลดปริมาณขยะในสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี





แปรรูปเปลือกทุเรียนเป็นพลาสติกชีวภาพ 
กรมวิชาการเกษตร ได้ทำการศึกษาวัสดุเหลือทิ้งจากกระบวนการเตรียมเนื้อทุเรียนสำหรับทอดกรอบ พบว่า การทำทุเรียนทอดนั้นใช้ทุเรียนสด 1 ตัน ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่จะกองทิ้งไว้เป็นขยะ สร้างปัญหาในเรื่องการกำจัดขยะจำนวนมาก

มีการนำเปลือกทุเรียนมาทำเป็นปุ๋ยพืชสด และถ่าน ส่วนต้นกล้วยถูกนำมาทำเป็นเชือก กระดาษ และใช้เป็นอุตสาหกรรมสิ่งทอ เนื่องจากเปลือกทุเรียนและต้นกล้วยมีเซลลูโลส ที่เป็นวัตถุดิบในการสังเคราะห์ คาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส หรือ ซีเอ็มซี (Carboxymethyl cellulose, CMC) ซึ่งเป็น “พอลิเมอร์ชีวภาพ” และมีบทบาทมากในอุตสาหกรรมหลายชนิด เช่น อุตสาหกรรมซักฟอก สิ่งทอ กระดาษ เซรามิก สี กาว อาหารและยา นอกจากนั้น ยังใช้เป็นสารเพิ่มความหนืดและสารยึดเกาะ (binder) และสารคงสภาพ (Stabilizer)

ขั้นตอนการแปรรูป
หากใครสนใจเทคนิคการแปรรูปเปลือกทุเรียนเป็นเซลลูโลส มีข้อแนะนำดังนี้ เริ่มจากนำเปลือกทุเรียนมาหั่นเป็นชิ้นๆ แล้วนำไปอบให้แห้ง ต่อจากนั้นนำเปลือกทุเรียนที่แห้งแล้วมาสกัดเอาเซลลูโลสด้วยสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์เข้มข้น 30 เปอร์เซ็นต์ จะได้เซลลูโลสสีน้ำตาล แล้วนำไปฟอกด้วยสารละลายไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์เพื่อกำจัดลิกนินออก เซลลูโลสที่เป็นสีน้ำตาลจะขาวขึ้น
จากนั้นนำเซลลูโลสที่ได้ไปบดเป็นผงละเอียด แล้วนำผงเซลลูโลสไปสังเคราะห์เป็นพลาสติกชีวภาพ หรือ คาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส หรือ ซีเอ็มซี โดยทำปฏิกิริยากับกรดคลอโรอะซิติกในสภาวะด่าง ได้ ซีเอ็มซี 138.12 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักเซลลูโลสตั้งต้นละลายน้ำได้ดี มีความบริสุทธิ์ 95.63 เปอร์เซ็นต์ มีลักษณะผงเป็นสีเหลืองอ่อน จากนั้นนำสารละลาย ซีเอ็มซี มาขึ้นเป็นรูปเป็นแผ่นฟิล์ม ซีเอ็มซี แล้วนำแผ่นฟิล์มที่ได้มาประยุกต์ใช้เป็นบรรจุภัณฑ์

ความคิดเห็น