ความเข้าใจที่ผิดๆเกี่ยวกับการทำงานแบบScrum team

คำว่า Scrum มันมาจาก Scrum ในกีฬารักบี้ ที่รุมกันแย่งบอล ตามรูปนี้

การ Scrum ในกีฬารักบี้ ก็คือการที่ทีมสองทีม รุมกันแย่งบอล ที่กรรมการโยนเข้าไปตรงกลางกลุ่ม และเมื่อคนใหนในทีมสามารถแย่งได้ ก็มีโอกาสที่จะส่งต่อให้เพื่อในทีมเพื่อทำแต้มให้กับทีมตัวเองได้มากขึ้น

สำหรับภาษาไทย ก็ได้มีการเอาคำว่า Scrum มาใช้ในทางที่เป็นด้านลบ มักจะใช้คำว่า รุมสกรัม นั่นคือการรุมทำร้ายสิ่งใดสิ่งหนุึ่ง ซึ่งฟังดูวุ่นวายยุ่งเหยิง และดูเป็นคำที่ใช้ด้านลบมากกว่า


มีอีกScrum ซึ่งเป็นเครื่องมือหนึ่งในการพัฒนาสินค้า หรืองาน ที่ต้องการให้เกิดความรวดเร็ว และมีความคล่องตัวขึ้น หรือ Agility เราเรียกว่า Scrum Development โดยมี Scrum Team เป็นทีมขับเคลื่อนผลงาน

เริมต้นการทำงานแบบนี้เกิดขึ้นในทีมพัฒนาซอฟแวร์ ที่ต้องมีการเขียนโปรแกรมหลายๆโมดูลจากหลายๆโปรแกรมเมอร์ ซึ่งต้องทำงานร่วมกันเพื่อให้ผลงานออกมาได้ตามที่ลูกค้าต้องการ ซึ่งคนในทีมงานประกอบด้วย

ในภายหลัง การทำงานแบบScrum team เริ่มแพร่หลายขึ้น และนำไปให้ในงานพัฒนาอื่นๆที่มีเป้าหมาย และกรอบเวลาที่ชัดเจน พอScrum ถูกนำมาใช้ในไทย หลายครั้งก็จะมีความเข้าใจผิดว่า คือการรุมกันทำงานแบบไร้การควบคุมเหมือนการรุมสกรัมตามความหมายแบบไทยๆ หรือบางทีก็กลัววุ่นวาย จนต้องควบคุมมากเกินไปแบบเผด็จการจนเกิดเป็นการสั่งการแบบWater Fall ซึ่งทำให้เกิดการรอในแต่ละขั้นตอน ซึ่งก็ทำให้คนบางคนที่ได้ทดลองใช้การทำงานแบบScrum แล้วสรุปว่า " มันไม่ Work " และปฏิเสธการทำงานแบบนี้ไปเลย
  เนื่องจากว่าการทำงานแบบScrum ต้องการความคล่องตัวและชัดเจน Scumจึงเหมาะสำหรับทีมขนาดเล็กที่พร้อมปรับตัว พัฒนา และเปลี่ยนแปลง สมาชิกในทีม Scrumต้องมีความสามารถที่หลากหลาย สามารถบริหารและดำเนินงานกันเองได้ด้วยสมาชิกภายในทีม แต่ละคนต้องบริหารตัวเองได้ สามารถหาทางแก้ไขปัญหาได้เองภายในทีม โดยแทบไม่ต้องรอความช่วยเหลือจากนอกทีม โดยสมาชิกในทีมประกอบด้วย

Product Owner  เป็นคนที่เข้าใจความต้องการลูกค้า และผลิตภัณฑ์ที่จะพัฒนาออกไปว่าต้องมีคุณลักษณะแบบใหน คุณภาพแบบใหน และรู้กรอบเวลาที่ต้องการ
 นอกจากนั้น Product Owner ยังทำหน้าที่

  •  จัดทำ Backlog และบริหารอย่างชัดเจน
  •  คอยปรึกษา Scrum MAster เพื่อขอคำปรึกษาและหาทางที่จะจัดการกับBacklog ให้ได้ตามต้องการ
  • ทำให้ทีมเข้าใจรายละเอียด ฺBacklog ได้ตรงกัน
  • จัดลำดับความสำคัญของBaclog และอธิบายเหตุผลได้

Developer  

  • สมาชิกต้องมีไม่มากเกินไปหรือน้อยเกินไป และไม่เสียเวลาประสานงาน
  • ไม่มีการแบ่งทีมย่อยออกไปอีก 
  • พัฒนางานตามที่วางแผนไว้
  • สมาชิกมีความสามารถเฉพาะด้าน งานแบ่งไปตามความสามารถ แต่ความรับผิดชอบยังคงเป็นของทั้งทีม

Scrum Master เป็นคนที่คอยทำหน้าที่

  •   คอยช่วยเหลือให้คนในทีมให้สามารถทำงานอย่างมีส่วนร่วม และเห็นภาพเดียวกัน
  •  คอยดูว่างานใหนดีต่อทีมหรือไม่
  • สนับสนุนและเข้าใจคนในทีม และช่วยMotivate คนในทีมอย่างสร้างสรค์
  •  เป็นคนที่มีทักษะในการตั้งคำถาม การใช้เครื่องมือSoft skill ต่างๆเพื่อสร้างพลังให้ทีม
  • ผู้ที่เป็น Scrum MAster อาจจะมีความเข้าใจงานที่ทำบ้างแต่ไม่จำเป็นต้องลงลึกก็ได้
  • ช่วยProduct Owner ในการจัดลำดับความสำคัญ ของBacklog เพื่อให้เกิดผลดีสูงสุด
  •  คอยกำจัดอุปสรรคที่จะเกิดมีต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของทีม
  •   สอนให้คนในทีมเข้าใจScrum ประโยชน์และการนำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ

จะเห็นได้ว่า ผู้ที่ต้องใช้ทักษะการบริหารจัดการมากที่สุด ก็คือ Scrum MAster  ส่วนใหญ่จะเป็นทักษะด้าน Soft Skill ซึ่งในตอนหน้าจะมาอธิบายเกี่ยวกับทักษะสำคัญ ที่ Scrum MAster ต้องใช้

ความคิดเห็น