กลบท ปริศนาชีวิต บทที่ ๑.


กลบท ปริศนาชีวิต

- ๑ -

 ลูกรัก......
พ่อปู่เขียนหนังสือไม่ได้ต้องการให้ใครมาอ่านเลข ๑
แล้วสรุปว่าเป็นเลข ๑ 
แต่เขียนเลข ๑
เพื่อให้คนอ่านเข้าถึงเลข ๑๐ 
และเขียน ก.
ให้ผู้อ่านเข้าถึง ฮ. ได้

พุทธะอิสระ

           ถ้ามีการตั้งคำถามว่า "วิธีการ" กับ "ผลลัพธ์" อะไรสำคัญกว่ากัน  คนทั่วไปก็มักจะให้ความสำคัญกับผลลัพธ์มากกว่า  เหมือนมีการตั้งโจทย์ตั้งคำถาม คนก็อยากทราบว่าคำตอบคืออะไร มากกว่าที่จะสนใจว่า  "คิดอย่างไรทำไมถึงได้คำตอบอย่างนั้น"  ดูมันง่ายดี แต่น่าเสียดายที่เราไม่ได้ฝึกการคิด

           กับคำพูดอีกประโยคในทำนองว่า "ทำอย่างไรก็ได้ให้ฉันได้ในสิ่งที่ฉันต้องการ" สิ่งที่ต้องการอาจเป็นเงิน ทรัพย์สมบัติหรือแม้แต่อำนาจ เป็นวิธีคิดที่มุ่งหวังผลโดยไม่สนใจว่าวิธีการจะชั่วดีอย่างไร เขาก็อาจจะปลอบใจบอกกับตนเองว่า  เงินหรืออำนาจที่ได้มาก็เพื่อไปทำสิ่งที่ดีๆที่เขามุ่งหวังสิ่งที่ดีกว่า

           แท้จริงแล้ววิธีการหรือกระบวนการคิดสำคัญกว่าผลลัพธ์  ถ้ามีวิธีการหรือกระบวนคิดที่ดี จะให้ได้กี่ผลลัพธ์ก็ย่อมทำได้  แต่ถ้าได้ผลลัพธ์มาเลยก็ต้องพึ่งผลลัพธ์ผู้อื่นอยู่ร่ำไป ไม่สามารถคิดได้เองทำได้เอง  ดุจดังประโยคที่ว่า "นักการเมืองให้ปลา พระราชาให้เบ็ด"

           ถ้าจะพูดให้ชัดอีกอย่าง กระบวนการพัฒนาวิธีการ ทั้งวิธีคิด (ทักษะการคิด) และวิธีการทำงาน (ทักษะการทำงาน) จะนำมาซึ่งผลลัพธ์ที่มีการต่อยอดพัฒนาตลอดเวลา ด้วยวิถีนี้แหล่ะ คำพูดที่ว่า "วันนี้ต้องดีกว่าเมื่อวาน" จึงจะเป็นจริง

           การอ่านเลข ๑ แล้วเข้าถึงเลข ๒ จนถึงเลข ๑๐  จึงเป็นกระบวนการฝึกปัญญาพัฒนาความสามารถการเรียนรู้ด้วยตนเอง


ความคิดเห็น